2.1 ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2410 หรือประมาณ 135 ปีมาแล้ว ได้มี นายนวล สินันตา พร้อมด้วยญาติพี่น้อง ได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านป่างิ้ว อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ในสมัยนั้นมาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่บ้านป่างิ้ว จังหวัดเชียงราย ต่อมาได้รวบรวมหมู่บ้านต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย 1) บ้านฮ่างต่ำ
บท 1 2) บ้านป่าสัก 3) บ้านป่างิ้ว 4) บ้านร่องกู่ 5) บ้านหม้อ และ 6) บ้านป่าเหมือด ขึ้นเป็นตำบลป่างิ้ว ซึ่งชื่อตำบลป่างิ้วนี้ ตั้งขึ้นอันเนื่องมาจากพื้นที่ในขณะนั้นมีต้นงิ้วขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มากมาย อีกทั้งยังเป็นชื่อถิ่นฐานบ้านเดิมของ นายนวล สินันตา ที่ได้รับเลือกเป็นกำนันตำบลป่างิ้ว คนแรกนั่นเอง
2.2 สภาพทั่วไป
2.2.1. บริเวณที่ตั้ง
เทศบาลตำบลป่างิ้ว ยกฐานะขึ้นจากองค์การบริหารส่วนตำบลป่างิ้ว เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2552 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่เลขที่ 344 หมู่ที่ 1 เรียงรายตามสองฟากถนนสายเชียงราย - เชียงใหม่ (ทางหลวงหมายเลข 118) ตำบลป่างิ้วเป็นหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเวียงป่าเป้า อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงป่าเป้าทางทิศใต้ 7 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตพื้นที่ราบ ตามทางหลวงสายเชียงราย - เชียงใหม่และลึกเข้าไปทางทิศตะวันตกและทิศตะวันของทางหลวงสายเชียงราย – เชียงใหม่ มีจำนวน 1 หมู่บ้าน และตั้งบ้านเรือนอยู่บนพื้นที่สูงห่างจากที่ตั้งของตำบลไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 15 - 40 กิโลเมตร จำนวน 3 หมู่บ้าน เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง จำนวน 1 หมู่บ้านโดยมีเขตติดต่อดังนี้
เหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านโป่ง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีแนวเขตเริ่มต้นจากดอยขุนห้วยแม่ฉางข้าว บริเวณพิกัด NB-363303 ไปทางทิศตะวันออกตามแนวลำห้วยแม่ฉางข้าว จนสิ้นสุดลำห้วยผ่านบริเวณพิกัด NB- 440321 แล้วขึ้นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านห้วยป่าห่ามตามแนวห้วยน้ำฮาก สิ้นสุดห้วยน้ำหากบริเวณพิกัด NB- 500328 ขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านทางหลวงจังหวัดสายเชียงใหม่ – เชียงราย ตรงกิโลเมตรที่ 4 ใต้ที่ว่าการอำเภอฯบริเวณพิกัด NB-541348 แล้วลงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามห้วยไม้สิสุกผ่านบริเวณพิกัด NB-587337 ตามแนวลำห้วยป่าสักไปทางทิศตะวันออก ไปสิ้นสุดที่ดอยขุนห้วยป่าสัก บริเวณพิกัด NB-610347 ระยะทางด้านทิศเหนือประมาณ 31 กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลทุ่งฮั้ว อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง มีแนวเขตเริ่มต้นจากดอยขุนห้วยป่าสัก บริเวณพิกัด NB- 610347 ไปทางทิศใต้ ผ่านบริเวณพิกัด NB-604330 ลงมาทางใต้ สิ้นสุดที่สันดอยม่วงงาม บริเวณพิกัด NB- 595913 ระยะทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 4 กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลเวียงกาหลง และตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีแนวเขตเริ่มต้นจากสันดอยม่วงงาม บริเวณพิกัด NB-595313 มาทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามแนวห้วยป่าเหมือด ห้วยน้อย ห้วยโป่งนก ออกทุ่งนา ผ่านทางหลวงจังหวัดเชียงใหม่ – เชียงราย ตรงกิโลเมตรที่ 8 ตามแนวห้วยบง ไปทางทิศตะวันตกแล้วลงมา
ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามสันดอยม่อนเกี๊ยะ ผ่านบริเวณพิกัด NB-470247 ลงมาทางทิศใต้และทิศตะวันตกตามแนวน้ำแม่หาง ห้วยไคร้ ห้วยมะเกลี้ยง สิ้นสุดที่ห้วยทราย บริเวณพิกัดNB-329198 ระยะทางทิศใต้ประมาณ 40 กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลแม่แวน อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีแนวเขตเริ่มต้นจากห้วยทราย บริเวณพิกัด NB-329198 ขึ้นไปทางทิศเหนือตามสันดอยกิ่วฮัก ผ่านบริเวณพิกัด NB-330254 สิ้นสุดที่ดอยขุนห้วยแม่ฉางข้าว บริเวณพิกัด NB-363303 ระยะทางด้านทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร
2.2.2. เนื้อที่ 178.73 ตารางกิโลเมตร / 111,706 ไร่ 2 งาน 78 ตารางวา
2.2.3. ภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของตำบลป่างิ้ว ทางทิศตะวันออกและทางทิศตะวันตกจะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่มสูงเอียง ลงมาตอนกลางของตำบล บริเวณตอนกลางก็จะเป็นที่อยู่อาศัยทำไร่ทำนา มีเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญตัดผ่าน ได้แก่ทางหลวงแผ่นดินสายเชียงราย – เชียงใหม่ หมายเลข 118 โดยผ่านจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ และทางหลวงแผ่นดินสายอำเภอเวียงป่าเป้า – อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หมายเลข 1150 ผ่านทางทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ทรัพยากรธรรมชาติ มีป่าสงวนอุทยานแห่งชาติดอยหลวง และอุทยานแห่งชาติขุนแจ มีแร่ดีบุก ดินขาว และแหล่งท่องเที่ยวมีอ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว แหล่งน้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำลาว อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว อ่างเก็บน้ำห้วยสันป่าสัก
2.2.4. สภาพป่าไม้
ตำบลป่างิ้ว มีพื้นที่เป็นสภาพป่าไม้ประมาณ 74,621 ไร่ หรือ 67.57% ของพื้นที่ทั้งหมดของตำบล อยู่ทางทิศตะวันอออกและทางทิศตะวันตกของตำบลสภาพป่าทั่วไปมีลักษณะเป็นป่าโปร่งมีการบุกรุกทำลายป่าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในทางทิศตะวันตกและสภาพป่าไม้ค่อนข้างจะสมบูรณ์จะอยู่ทางทิศตะวันตก
2.2.5 สภาพภูมิอากาศ ปี 2553-2555
ตำบลป่างิ้วมีสภาพภูมิอากาศไม่ร้อนจัดและไม่หนาวจัดจนเกินไปคืออุณหภูมิสูงสุดที่ 36.2 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดคือ 5.5–7.0 องศาเซลเซียสในช่วงเดือนมกราคม ถึง กุมภาพันธ์ และอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปีจะอยู่ในช่วง 20.8 – 28.2 องศาเซลเซียส ซึ่งพอจะแยกเป็นฤดูกาลได้ 3 ฤดูกาลดังนี้
ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนมีนาคม กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ๓๖.๔๔ องศาเซลเซียส
ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม กลางเดือนตุลาคม เดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนสิงหาคมถึงกันยายน ปริมาณฝนรวม 1,625 มิลลิเมตร ซึ่งทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ทำนาที่เป็นราบลุ่มเป็นประจำ และในช่วงที่ไม่มีฝนตกเลยหรือมีเฉพาะฝนหลงฤดูที่มีปริมาณต่ำกว่า 1 ม.ม. ในช่วงบางปีเท่านั้น คือช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งปริมาณน้ำฝนในปีที่ผ่านมา และมีปริมาณฝนตกน้อยช่วงเดือนมกราคม – เมษายน
ฤดูหนาว อยู่ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 12.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 10 องศาเซลเซียส
2.2.6 แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร
แหล่งน้ำใช้ในการเกษตร
แหล่งน้ำที่ใช้ในการเกษตรจะเป็นแหล่งน้ำจากธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งจะมีปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรบางหมู่บ้านแม่น้ำที่ใช้ในการเกษตรแยกได้ดังนี้
1. น้ำแม่ลาว เป็นแม่น้ำสายใหญ่ ไหลผ่านในหมู่บ้านของตำบลป่างิ้ว โดยมีพื้นที่รับน้ำได้แก่ หมู่ที่ 2,4,6,9,16
2. อ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว มีพื้นที่รับประมาณ 450 ไร่ ในเขตพื้นที่หมู่ 10 และหมู่ 11 ตำบลป่างิ้ว พื้นที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่ฉางข้าว 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านโป่ง หมู่ 1,3,4,5,6 ตำบลป่างิ้ว หมู่ 3,10,11,12,13,14,15 จำนวน 12 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 8,000 ไร่
3. อ่างเก็บน้ำห้วยสันป่าสัก มีพื้นที่รับประมาณ 350 ไร่ ในเขตพื้นที่ หมู่ที่ 2,5 พื้นที่ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำสันป่าสัก 2 ตำบล คือ ตำบลบ้านโป่ง หมู่ 3,6 ตำบลป่างิ้ว หมู่ 2,5 จำนวน 4 หมู่บ้าน พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่
4. ห้วยก็อดยาว เป็นลำน้ำเล็ก ๆ อยู่หมู่ที่ 9 บ้านสบลี โดยมีพื้นที่รับน้ำหมู่ที่ 9 พื้นที่ประมาณ 700 ไร่ มีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น
5. ห้วยน้ำฮาก เป็นลำน้ำเล็ก ๆ อยู่หมู่ที่ 11 บ้านขุนเมืองงาม โดยมีพื้นที่รับน้ำ หมู่ 11 มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่ มีน้ำเฉพาะฤดูฝนเท่านั้น
6. ห้วยแม่หาง เป็นลำน้ำเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่หมู่ 7 บ้านแม่หาง โดยมีพื้นที่รับน้ำหมู่ที่ 7,8 พื้นที่ประมาณ 400 ไร่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีน้ำปริมาณน้อยในฤดูแล้ง ไหลลงสู่ห้วยแม่เจดีย์
7. ห้วยมะเกลี้ยง เป็นลำน้ำเล็ก ๆ อยู่ในพื้นที่หมู่ 8 บ้านห้วยมะเกลี้ยง โดยมีพื้นที่รับน้ำหมู่ 8 พื้นที่ประมาณ 200 ไร่ มีน้ำไหลตลอดทั้งปี มีน้ำปริมาณน้อยในฤดูแล้งไหลลงสู่ห้วยแม่เจดีย์
การอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ในปัจจุบันประชาชนในตำบลป่างิ้ว หรือตำบลใกล้เคียงซึ่งมีแม่น้ำลาวไหลผ่านแต่ไม่กิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ำ ดังนั้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในตำบลป่างิ้วเกิดความรักและเห็นความสำคัญของแม่น้ำ ให้ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ โดยเน้นถึงประโยชน์ของการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารอย่างเป็นระบบ ให้มีการรณรงค์ และการป้องกันการใช้สารเคมีเพื่อไม่ให้ปล่อยสารเคมีที่ใช้กับการเพาะปลูกพืชไหลลงสู่แม่น้ำเพราะจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ลดการใช้สารเคมีหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพและพืชสมุนไพรทดแทน
2.2.7 การปกครองและการเมือง
- จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบลป่างิ้วเต็มทั้งหมู่บ้านจำนวน 16 หมู่บ้าน
- ส่วนราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 1 หน่วยงาน (รพ.ส.ต.ตำบลป่างิ้ว)
- ส่วนราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แยกเป็น
สถาบันการศึกษา จำนวน 1 แห่ง
มัธยม และประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง
ประถมศึกษา 2 แห่ง
องค์กรทางศาสนา วัด/สำนักสงฆ์ / คริสตจักร
2.2.8. สภาพทางเศรษฐกิจอาชีพ
- อาชีพทางการเกษตร ประมาณร้อยละ 70
- อาชีพทางการพาณิชย์ ประมาณร้อยละ 30
- พื้นที่ทำนา 8,006 ไร่
- พื้นที่ทำไร่ 12,912 ไร่
- พื้นที่ทำสวน 6,153 ไร่
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลป่างิ้ว มีหลายชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ขิง พริก มัน กาแฟ ยางพารา กล้วย ลำไย
2.2.9. สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ สุกร เป็ด โค กระบือ ม้า ไก่เนื้อ ไก่พื้นเมือง ไก่ไข่
2.2.10.สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด/สำนักสงฆ์ 12 แห่ง ศาลเจ้า 3 แห่ง โบสถ์ 5 แห่ง
2.2.11. การบริการพื้นฐาน ด้านการคมนาคม
ตำบลป่างิ้ว มีเส้นทางการคมนาคมได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลย 118 เป็นถนนสายหลัก และภายในตำบลประมาณร้อยละ 70 เป็นถนนลูกรัง และร้อยละ 30 เป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ตลอดจนถนนของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท และถนนของกรมโยธาธิการ สามารถแยกได้ดังนี้ เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อระหว่างหมู่บ้าน ถึงถนนทางหลวงสายเชียงราย – เชียงใหม่ สามารถติดต่อได้ 5 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางที่ 1 คือ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ติดถนนทางหลวงสายเชียงราย - เชียงราย
เส้นทางที่ 2 คือหมู่บ้านที่ใช้ถนนสายเวียงป่าเป้า - อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 7,8
เส้นทางที่ 3 คือ หมู่บ้านที่ใช้ถนนสายขุนลาว ต.แม่เจดีย์ใหม่ - ปางมะกาด ตำบลแม่เจดีย์ จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่7,8
เส้นทางที่ 4 คือ หมู่บ้านที่ใช้ถนนสายแม่ขะจาน – ห้วยทราย ต.แม่เจดีย์จำนวน 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 7,8
เส้นทางที่ 5 คือ หมู่บ้านที่ใช้ถนนสายป่างิ้ว – หนองเขียว ต.ป่างิ้ว จำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 3,10,11,12
2.2.12. การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง 16 หมู่บ้าน
2.2.13. แหล่งน้ำธรรมชาติ ลำน้ำ ลำห้วย 22 แห่ง สระน้ำ 7 แห่ง หนองน้ำ 6 แห่ง
ลำคลอง10 แห่ง บึง 2 แห่ง แม่น้ำ 10แห่ง เหมือง 21 แห่ง
2.2.14. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ฝาย 12 แห่ง บ่อน้ำตื้น 1,655 แห่ง บ่อโยก 19 แห่ง
บ่อบาดาล 42 แห่ง ประปาหมู่บ้าน 8 แห่ง ประปาภูเขา 3 แห่ง อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง
คลองชลประทาน 1 แห่ง
18.97.14.88 | |
ออนไลน์ | 46ip |
วันนี้ | 477ip |
เดือนนี้ | 4175ip |
ปีนี้ | 631049ip |
ทั้งหมด | 859722ip |
Counter |