นายประเสริฐ อินต๊ะนำ ประธานสภาเทศบาล เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 26 ,089-8552998 |
|
นายวุฒิชัย พุทธรรม รองประธานสภาเทศบาล เบอร์โทร : 089-7593432 |
นางวาสนา แซ่ตัน สมาชิกสภาเทศบาล เขต1 เบอร์โทร : 087-1838599,098-7695636 |
นายจำรัส อินใจ สมาชิกสภาเทศบาล เขต1 เบอร์โทร : 080-8506298 |
นายเปรม แก้วดี สมาชิกสภาเทศบาล เขต1 เบอร์โทร : 086-0515497 |
นายเจษฎา จ่าปัน สมาชิกสภาเทศบาล เขต1 เบอร์โทร : 093-5903073 |
นายชยพล สิงห์หล้า สมาชิกสภาเทศบาล เขต1 เบอร์โทร : 087-1915094 |
นางจันทร์เพ็ญ ก้อนปัญญา สมาชิกสภาเทศบาล เขต2 เบอร์โทร : 095-1454185 |
นางสุมาลี แก้วดี สมาชิกสภาเทศบาล เขต2 เบอร์โทร : 081-9526726 |
นายวรชัย ไพศาลเจริญไพร สมาชิกสภาเทศบาล เขต2 เบอร์โทร : 091-9340507 |
นายทวีไชย แสงวงค์คำ สมาชิกสภาเทศบาล เขต2 เบอร์โทร : 087-1885303 |
นายวรธันย์ ก้อนปัญญา สมาชิกสภาเทศบาล เขต2 เบอร์โทร : 087-1827638 , 063-1353485 |
นายธีรพงศ์ คงเสือ เลขานุการสภาเทศบาล เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 14 , 080-6755068 |
อำนาจหน้าที่สภาเทศบาล
อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล
ปกติสภาเทศบาลจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1. อำนาจในการตราเทศบัญญัติ
เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้
1. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
2. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้อำนาจตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้นๆ
สำหรับการพิจารณาตราเทศบัญญัติงบประมาณประจำปี ถือว่าเป็นการใช้อำนาจสูงสุดในการควบคุม ถ้าหากร่างดังกล่าวไม่ได้รับการเห็นชอบจากสภาเทศบาลแล้ว นั่นหมายถึงว่าคณะเทศมนตรีสิ้นสุดในหน้าที่ (เพราะการไม่เห็นด้วยของเทศบาลมีความหมายถึงการไม่ยอมรับของประชาชนในท้อง ถิ่นด้วย) โดยมีเงื่อนไขที่น่าสังเกตว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องเห็นชอบด้วย และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วยนั้น การตัดสินใจขั้นสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยว่าจะ ดำเนินการอย่างไร
ส่วนในการตราข้อบัญญัติทั่วไปจะมีหลักการคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ว่าร่างดังกล่าวจะได้รับการวินิจฉัยขั้นสุดท้ายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นด้วย
2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
สภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม ระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้ โดยมีมาตรการควบคุมที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการ
2.1 การตั้งกระทู้ถาม ( มาตรา 31 พ.ร.บ เทศบาล ฯ)
สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามในข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้ ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทำใดๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่นหรือประชาชนในท้องถิ่น นั้น ทั้งนี้นายกเทศมนตรี จะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้วจะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสีย ประโยชน์ที่สำคัญของเทศบาล
2.2 การอนุมัติงบประมาณประจำปี
ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีต่อไป นายกเทศมนตรีจะต้องเสนอ งบประมาณประจำปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้ว จึงจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ การที่กำหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้ว ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผลทำให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง ไป
3. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล
เพื่อที่จะให้การดำเนินงานต่างๆ ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สภาเทศบาลมีอำนาจที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทำ ซึ่งคณะกรรมการที่สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
3.2 คณะกรรมการวิสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก ไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน
คณะกรรมการสภาเทศบาล
1. คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม
2. คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติ
3. คณะกรรมการอื่นๆ ที่สภาท้องถิ่นเห็นสมควร
4. ภารกิจของเทศบาลที่กฎหมายกำหนดต้องได้รับการอนุมัติจากสภาเทศบาล
4.1. ตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ
4.1.1. สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ของประธานสภาฯ รองประธานสภา หากเห็นว่า ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ , ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ,ประพฤติไม่ชอบ
4.1.2. การยินยอมให้ทำกิจการนอกเขต
4.1.3. การกู้เงินของเทศบาล
4.2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินฯ
4.2.1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน ยืมเงินสะสม
4.2.2. การกันเงิน ในกรณีรายจ่ายหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน
4.3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ฯ
4.3.1. การโอนงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
4.3.2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
*ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งจะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (มาตรา 17)
*สมาชิกสภาเทศบาลย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลนั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ (มาตรา 18)
*สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมใน สัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้นหรือ ที่เทศบาลนั้นจะกระทำ (มาตรา 18 ทวิ)
18.97.14.88 | |
ออนไลน์ | 44ip |
วันนี้ | 457ip |
เดือนนี้ | 4155ip |
ปีนี้ | 631029ip |
ทั้งหมด | 859702ip |
Counter |