![]() นางอรวรรณ แสงคำ ผู้อำนวยการกองคลัง นักบริหารงานคลัง ระดับต้น เบอร์โทร : 084-3783411 ,053-648963 ต่อ 16 089-5528879 , 085-0393381 ข้อมูลเพิ่มเติม |
|
![]() นางจารุฉัตร แสนช่างไม้ หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้ นักบริหารงานคลัง ระดับต้น เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 22 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางสิรธีร์ มูลธิดา หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง นักบริหารงานคลังระดับต้น เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางรมณีย์ แก้วปวน เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ชำนาญงาน เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 22 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางกัญญา ไชยโย นักวิชาการพัสดุ ชำนาญการ เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางสาววาสนา ชุ่มเรือน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ปฏิบัติงาน เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางสาวรุ่งทิพย์ เพชรธาราธิพย์ เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางนวพร บุญชัยวงค์ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานงานการเงินและบัญชี เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางสาวิตรี ดวงสุวรรณ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นายหัสณพงษ์ บุญรัตน์ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 22 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() นางปวีณา แสงวงค์คำ คนงาน เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 16 ข้อมูลเพิ่มเติม |
![]() น.ส.บุญญกานต์ รอดบาง คนงาน เบอร์โทร : 053-648963 ต่อ 22 ข้อมูลเพิ่มเติม |
การแบ่งงานและการมอบหมายหน้าที่ภายในกองคลัง เทศบาลตำบลป่างิ้ว
----------------------------------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (และแก้ไขเพิ่มเติม) , พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ,ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. 2544 โดยขอแจ้งการมอบหมายหน้าที่การงานและความรับผิดชอบของแต่ละคนภายในกองคลัง เทศบาลตำบลป่างิ้ว เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฎิบัติงาน ดังต่อไปนี้
มอบหมายให้ นางอรวรรณ แสงคำ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองคลัง (นักบริหารงานคลัง ระดับต้น) เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-2102-001 เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบกำกับดูแลภายในกองคลัง มีพนักงานเทศบาล และพนักงานจ้างในสังกัด เป็นผู้ช่วย โดยมีหน้าที่พิจารณา ศึกษา วิเคราะห์ทำความเห็นเสนอแนะและดำเนินการปฎิบัติงานบริหารงานคลังที่ต้องใช้ความชำนาญ โดยตรวจสอบการจัดการต่าง ๆ เกี่ยวกับงานคลังหลายด้าน เช่น งานคลัง งานการเงินและงานบัญชี งานจัดเก็บรายได้ งานตรวจสอบรับรองความถูกต้องเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน งานรับรองสิทธิการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ การควบคุมการปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงิน การบันทึกบัญชีในระบบคอมพิวเตอร์(e-laas) การเก็บรักษาทรัพย์สินที่มีค่าและหลักฐานการแทนตัวเงิน พิจารณาตรวจสอบรายงานการเงินต่าง ๆ รายงานการปฏิบัติงาน สรุปเหตุผลการปฏิบัติงานต่าง ๆ พิจารณาวินิจฉัยผลการปฏิบัติงานซึ่งต้องวางแผนงานด้านต่าง ๆ ให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานสังกัดหน่วยการคลังได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนควบคุมการตรวจสอบและประเมินผล การจัดทำรายงานการประเมินผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณ พิจารณาปรับปรุงแก้ไขศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับรายได้ รายจ่ายจริง เพื่อประกอบการพิจารณาวิเคราะห์ประมาณการรายรับรายจ่าย กำหนดรายจ่ายของหน่วยงานเพื่อให้เกิดการชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ อย่างทั่วถึง ตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษี แนะนำวิธีการปฏิบัติงานพิจารณาเสนอแนะการเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ ควบคุมการตรวจสอบรายงานการเงินและการบัญชีต่าง ๆ ตรวจสอบการเบิกจ่ายวัสดุ ครุภัณฑ์ การจัดซื้อ จัดจ้าง ร่วมเป็นกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น กรรมการรักษาเงิน ฯลฯ เสนอข้อมูลทางด้านการคลัง เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงาน เป็นต้น การจัดฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาชี้แจงเกี่ยวกับงานในหน้าที่ เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับแต่งตั้ง เข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและแผนงานของหน่วยงาน โดยมีส่วนราชการที่เป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
1.ด้านการเงินและการบัญชี
มอบหมายให้ นางอรวรรณ แสงคำ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองคลัง (นักบริหารงานคลัง ระดับต้น ) เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-2102-001 เป็นหัวหน้า โดยมี นางอัญชลี รื่นพิทักษ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง (นักบริหารงานคลัง ระดับต้น) เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-2102-002 เป็นผู้ช่วย มีรายละเอียดของงานและการปฏิบัติดังนี้
1.1 การจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเก็บรักษาเงิน,เจ้าหน้าที่ตรวจสอบการรับเงินและใบเสร็จรับเงิน
1.2 การรับเงินรายได้จากการพัฒนาและจัดเก็บรายได้ ตามใบนำส่งและใบสรุปใบนำส่งเงินตรวจสอบให้ตรงกับใบเสร็จรับเงินและนำฝากธนาคารทุกวัน พร้อมทั้งส่งใบนำส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
1.3 การรับเงินจัดสรรจากท้องถิ่นจังหวัด ได้แก่ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ทำใบส่งเงินให้งานการบัญชีลงบัญชี
1.4 การตรวจสอบเงินโอนจากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เงินอุดหนุนทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม เงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน ภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าภาคหลวงแร่ ภาษีสุรา ภาษีสรรพสามิตร ค่าภาคหลวงปิโตเลียม ที่โอนผ่านธนาคารโดยใช้บริการ Self-Service Banking
1.5 การรับฎีกาเบิกเงินจากงานต่าง ๆ ลงเลขรับฎีกาวันที่รับใบเบิก และนำส่งให้งานควบคุมงบประมาณตัดยอดเบิกเงินงบประมาณ
1.6 นำฎีกาที่งานการบัญชีตัดยอดเงินมาตรวจสอบหลักฐานต่าง ๆ (ตามเอกสารที่แนบ)
1.7 การนำส่งเงินภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย,เงินประกันสังคม,เงินค่าใช้จ่าย 5 %,สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงาน,เงินชำระเงินกู้สวัสดิการ
1.8 การนำเงินสมทบกองทุน กบท. ภายในเดือน ธันวาคม ของทุกปี
1.9 การโอนเงินเดือนพนักงานและสมาชิกสภาฯเข้าธนาคาร
1.10 การตรวจสอบเอกสารประกอบฎีกาจ่ายเงิน ได้แก่ วันที่ ลายมือชื่อ ในใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงินหรือหลักฐานการจ่าย ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ต้องประทับตราถูกต้อง
1.11 การจัดทำฎีกาเบิกเงินของกองคลัง ฎีกานอกงบประมาณ ฎีกาเงินสะสม พร้อมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน
1.12 การจัดทำรายงานจัดทำเช็ค ลงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครบถ้วน จัดทำสำเนาคู่ฉบับและตัวจริงให้เก็บไว้เบิกเงินสำเนาแยกแฟ้มไว้ต่างหาก 1 ฉบับ ติดตามประสานงานให้ผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็คมารับไปโดยเร็ว ต้องไม่เกิน 15 วัน หลังจากผู้มีอำนาจลงนามเช็คแล้ว หรือดำเนินการนำออกไปจ่ายให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
1.13 การเบิกเงินสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล ค่าเช่าบ้าน ค่าจ้างเหมาบริการ ค่าเล่าเรียนบุตร เงินสำรองจ่าย ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางไปราชการไม่ควรเงิน 5 วันทำการ หลังจากรับฎีกาเบิกเงิน
1.14 ดำเนินการเบิกตัดปีโครงการที่ดำเนินการไม่ทันในปีงบประมาณนั้น หรือขออนุมัติจัดทำรายจ่ายค้างจ่ายตามแบบที่กำหนด
1.15 งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
1.16 มีหน้าที่ลงบัญชีระบบคอมพิวเตอร์และปิดบัญชีให้เป็นปัจจุบันทุกวันทำการ
2.งานการบัญชี
มอบหมายให้ นางอัญชลี รื่นพิทักษ์ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานคลัง (นักบริหารงานคลัง ระดับต้น) เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-2102-002 เป็นหัวหน้าและมีนางนวพร บุญชัยวงค์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (ลูกจ้างตามภารกิจ) เป็นผู้ช่วย โดยมีรายละเอียดขอบเขตของงานและการปฏิบัติมีดังนี้
2.1 รับใบนำส่งเงินจากงานการเงินนำมาลงบัญชีเงินสดรับและทะเบียนเงินรายรับ
2.2 ตรวจสอบเงินภาษีจัดสรรที่งานการเงินได้รับมาจากสำนักงานท้องถิ่นจังหวัด นำมาลงบัญชีเงินสดรับ(กรณีออกใบเสร็จรับเงิน)นำใบผ่านรายการทั่วไป(กรณีเงินรับโอน) แล้วนำมาลงทะเบียนเงินรายรับ
2.3 จัดทำรายงานการเงินคงเหลือประจำวันทุกวันที่มีการรับ-จ่ายเงิน และเสนอให้คณะกรรมการเก็บรักษาเงินและผู้บริหารทราบทุกวัน
2.4การจัดทำทะเบียนคุมเงินรายรับตรวจสอบกับเงินสดรับและเงินฝากธนาคารให้ครบถูกต้องตรงกัน
2.4.1 ทะเบียนคุมเงินรายรับตรวจสอบกับเงินสดรับและเงินฝากธนาคารให้ถูกต้องตรงกัน
2.4.2 ทะเบียนคุมรายจ่ายตามงบประมาณตรวจสอบกับบัญชีเงินสดจ่าย และStatement ของธนาคารรวมทั้งสมุดคุมเช็คให้ตรงกัน
2.4.3 ทะเบียนคุมเงินประกันสัญญาตรวจสอบกับเงินสดรับและสำเนาใบเสร็จรับเงินให้ถูกต้อง
2.4.4 ทะเบียนคุมเงินสะสมจัดทำมาตรวจสอบกับสมุดเงินสดจ่ายและบัญชีแยกประเภทให้ถูกต้องตรงกัน
2.5 จัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป ทุกครั้งที่มีการปรับปรุงบัญชี ทำให้ใบผ่านรายการบัญชีมาตราฐาน 1,2,3 ทุกสิ้นเดือน/ปิดงบสิ้นปี
2.6 จัดทำบัญชีผ่านระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(Electronic Local Administrative Accounting System : e-LAAS) ให้เป็นปัจจุบันและครบทุกระบบการทํางาน ๔ ระบบ
2.7 จัดทำรายการต่าง ๆ ได้แก่
2.6.1 การจัดทำรายงานประจำเดือน ได้แก่ งบกระทบยอดเงินฝากธนาคารต้องตรงกับรายงานสถานะการเงินประจำวัน ,งบรับ-จ่ายเงินสด, กระดาษทำกระทบยอด,งบทดลอง, , งบประมาณรายรับจริงประกอบงบทดลองและรายงานรายรับจ่าย
2.6.2 การจัดทำรายงานกิจกรรมที่ได้กระทำไปแล้วทุกระยะ 3 เดือนและติดประกาศประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
2.6.3 การจัดทำงบแสดงฐานะทางการเงินเมื่อสิ้นปีงบประมาณได้แก่ ปิดบัญชี จัดทำงบ งบทดลองก่อนและหลังปิดบัญชี,งบรายรับ – รายจ่ายตามงบประมาณ,รายงานรับ – จ่ายเงินสด,รายรับจริงประกอบงบทดลองและรายงานรับ – จ่ายเงินสด,งบแสดงฐานะการเงิน,งบทรัพย์สิน,กระดาษทำการปี,รายงานบัญชีจ่ายเงินสำรองรายรับและติดประกาศประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ
2.7 การจัดทำรายงานที่ต้องส่งตามกำหนดเวลา ได้แก่
2.7.1 รายงานรายรัยจริง – รายจ่ายจริงให้แก่สำนักนโยบายการคลัง รายไตรมาส
2.7.2 ปรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เพื่อการเกษตรเพื่อสหกรณ์การเกษตร (เงินฝากออมทรัพย์)ทุกสิ้นเดือนมีนาคมและกันยายน โดยจัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป
2.7.3 ปรับดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสิน (เงินฝากออมทรัพย์)ทุกสิ้นเดือนมิถุนายนและธันวาคม โดยจัดทำใบผ่านรายการบัญชีทั่วไป
2.7.4 รายงานรายละเอียดการขออนุมัติใช้จ่ายเงินสะสม ปีล่ะ 2 ครั้ง (สิ้นเดือนมีนาคมและสิ้นเดือนกันยายน)
2.7.5 รายงานข้อมูลการกู้เงินและสถานะหนี้คงค้าง รายไตรมาส
2.8 งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
3.งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
มอบหมายให้ นางจารุฉัตร แสนช่างไม้ ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายพัฒนารายได้ ระดับ ชำนาญงาน เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-2102-003 เป็นหัวหน้าและนางรมณีย์ แก้วปวน ตำแหน่ง เจ้าพนักงานจัดเก็บรายได้ ระดับ ชำนาญงาน เลขที่ตำแหน่ง 12-2-04-4204-001 ,นายหัสณพงษ์ บุญรัตน์ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่จัดเก็บ (พนักงานจ้างภารกิจ) และนางสาวบุญกานต์ รอดบาง (พนักงานจ้างทั่วไป) , นางสาวกวางทิพย์ รินคำแดง (พนักงานจ้างทั่วไป) เป็นผู้ช่วย มีรายละเอียดของงานและการปฏิบัติงานดังนี้
3.1 จัดเก็บรายได้ที่เทศบาลตำบลป่างิ้วจัดเก็บเอง
3.2 ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน รวมทั้งรายการรายละเอียดต่าง ๆ ของผู้มาชำระค่าภาษีทุกประเภทกับทะเบียนลูกหนี้ให้ถูกต้องครบถ้วนและทำให้เป็นปัจจุบัน มีการจำหน่ายชื่อลูกหนี้ ลงเล่มที่ เลขที่ ใบเสร็จรับเงินและวันที่ชำระเงินในทะเบียนลูกหนี้ทุกครั้งที่มีการรับเงิน
3.3 งานประเมินจัดเก็บรายได้การแต่งตั้งคณะกรรมการ ประเมินภาษี นัดประชุมจัดทำรายงานการประชุม กำหนดอัตราในการจัดเก็บทุกปี
3.4 เร่งรัดการจัดเก็บรายได้ มีการติดตามทวงหนี้จากลูกหนี้โดยตรง
3.5 จัดทำทะเบียนคุมลูกหนี้ค่าภาษี ได้แก่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีป้าย ค่าธรรมเนียมออกใบอนุญาตประกอบการค้าที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ค่าธรรมเนียมเก็บขยะ ค่าน้ำประปา
3.6 จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเจาะปรุใบเสร็จรับเงินและจัดทำรายงานเจาะปรุใบเสร็จทุกสิ้นปีงบประมาณ
3.7 จัดทำบัญชีด้านรายรับด้วยระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ และลงข้อมูลทะเบียนทรัพย์สินในโปรแกรมแผนที่ภาษี
3.8 งานอื่นที่ได้รับมอบหมาย
4.งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ
มอบหมายให้ นางกัญญา ไชยโย ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุ ระดับชำนาญการ เลขที่ตำแหน่ง 12-2-3204-001 และนางสาวสุรีรัตน์ สุขเน ตำแหน่ง พนักงานจ้างทั่วไป และนางสาวปวีณา ปิงเมือง ตำแหน่งพนักงานจ้างทั่วไป เป็นผู้ช่วย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ เบิกจ่ายวัสดุครุภัณฑ์ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย รายละเอียดขอบเขตของการปฏิบัติงานมีดังนี้
4.1 ก่อนสิ้นเดือน กันยายน ของทุกๆ ปีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปี
4.2 จัดทำแผนจัดหาพัสดุประจำปี และแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างตามแบบ ผด.1,ผด.2,ผด.3,ผด.5,และรายงานตามแบบผด.6 ในฐานะหน่วยงานพัสดุกลาง
4.3 ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามแผนฯ และขั้นตอนต่าง ๆ ตามระเบียบพัสดุ เมื่อจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามแผนต้องดำเนินการประเมินแผนและแจ้งให้ส่วนต่าง ๆ ให้ทราบ
4.4 จัดทำบัญชีรายจ่ายพัสดุ ทะเบียนครุภัณฑ์ ลงเลขรหัสที่ตัวครุภัณฑ์ การยืมพัสดุต้องทวงถามติดตามเมื่อครบกำหนดคืน
4.5 จัดทำทะเบียนคุมที่ดินและสิ่งก่อสร้าง
4.6 จัดทำงานคืนเงิน/หนังสือประกันสัญญา
4.7 จัดทำรายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง(สขร.)ประจำเดือน ภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
4.8 จัดทำขอซื้อขอจ้างและรายการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดในระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ (E-laas) และลงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างในระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (EGP)
4.9 ควบคุมการใช้และรักษายานพาหนะส่วนกลางของเทศบาล
4.10ดำเนินการเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูลในการจัดซื้อ จัดจ้างให้เป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางในเว็บไซต์ของกรมบัญชีกลางและเว็บไซต์ของหน่วยงาน
4.11 งานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
5. งานธุรการและงานสารบรรณ
มอบหมายให้ นางสาวิตรี ดวงสุวรรณ ตำแหน่ง ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ มีหน้าที่รับผิดชอบ
เกี่ยวกับงานธุรการรับ-ส่ง ลงทะเบียน แยกประเภทและจัดส่งหนังสือ เอกสารให้ฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องเก็บและค้นหาหนังสือ และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย
ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
![]() |
|
ออนไลน์ | 28ip |
วันนี้ | 48ip |
เดือนนี้ | 16918ip |
ปีนี้ | 44157ip |
ทั้งหมด | 50988ip |
Counter |